อารยธรรมเมโสโปเตเมีย


สื่อ IT ( Information Technology)
เรื่อง อารยธรรมเมโสโปเตเมีย





จัดทำโดย

นางสาวจิราภรณ์ คูเชื้อ เลขที่36
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.5





เสนอ

คุณครู เตือนใจ ไชยศิลป์
โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต36









อารยธรรมเมโสโปเตเมีย

                                              

        เมโสโปเตเมีย หรือเป็นที่รู้จักในนาม "ดินแดนพระจันทร์เสี้ยว(ดังรูปซ้าย) เป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในสมัยโบราณ คำว่าเมโสโปเตเมีย  เป็นภาษากรีก หมายถึง "ดินแดนระหว่างแม่น้ำทั้งสอง" ซึ่งแม่น้ำทั้งสองก็คือ บริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟติส ปัจจุบันคือประเทศอิรัก
      แม่น้ำสองสายมีต้นน้ำอยู่ในอาร์เมเนียและเอเชียไมเนอร์ไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เชีย โดยมี
            ทิศเหนือ → ทะเลดำและทะเลสาบแคสเปียน
           ⇨ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ → คาบสมุทรอาหรับ (รอบล้อมด้วยทะเลแดงและมหาสมุทรอินเดีย)
            ทิศตะวันออก → ที่ราบสูงอิหร่าน
           ⇨ ทิศตะวันตก → ที่ราบซีเรียและปาเลสไตน์      
         จากลักษณะหรือสภาพทางภูมิศาสตร์ของเมโสโปเตเมีย ทำให้บริเวณนี้มีลักษณะเป็นเหมือนสะพานเชื่อม 3 ทวีปด้วยกัน คือ ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป และทวีปแอฟริกา  



                                                                       หมายเหตุ : → หมายถึงจดกับ







ชนเผ่าต่างๆของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

1.สุเมเรียน (Sumerian)
       - เป็นชนกลุ่มแรกที่
              ⤷ เข้ามาอาศัยอยู่ในยุคประวัติศาสตร์ และก่อตั้งอาณาจักรซูเมอร์ขึ้นบริเวณที่ราบบาบิโลเนีย
              ⤷ ประดิษฐ์อักษร "ลิ่ม" หรือ "คูนิฟอร์ม" (Cuneiform) 
              ⤷ ทำการก่อสร้างระบบชลประทาน เพื่อนำน้ำไปใช้ในการเพาะปลูก
              ⤷ ใช้อิฐตากแห้งสร้าง "ซิกกูแรต" (ลักษณะคล้ายพีระมิด)
       - มีการปกครองแบบนครรัฐ เป็นแห่งแรก มีชนชั้นในสังคม
       - มีการทำเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ ประกอบอาชีพ 
       - มีความเชื่อว่ามนุษย์เกิดมาเพื่อเป็นทาสรับใช้ของพระเจ้า นับถือเทพเจ้าหลายองค์
       - วรรณกรรมที่สำคัญ "มหากาพย์กิลลาเมซ" 
       - มีความเจริญทางคณิตศาสตร์และปฏิทินจันทรคติ

ซิกกูแรต


 2.อัคคาเดียน (Akkadian)
       - เข้ามารุกรานพวกสุเมเรียน
       - กษัตริย์ที่ทีความสามารถ ได้แก่ พระเจ้าซาร์กอนมหาราช (ทรงรวมนครรัฐต่างๆเข้าด้วยกัน)
       - เกิดจักรวรรดิครั้งแรก และยกเมืองเออร์เป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิ

ชาวอัคคาเดียน


 3.อะมอไรต์ (Amorite)

       - เข้ามายึดครองดินแดนของชาวสุเมเรียน เมื่อประมาณ 1,792 ปีก่อนค.ศ.
       - มีศูนย์การปกครองอยู่ที่กรุงบาบิโลน (จักรวรรดิบาบิโลเนีย)
       - ประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมมูราบี หรือ กฎหมายต่างตอบแทน มี282มาตรา โดยยึดหลัก ตาต่อตา ฟันต่อฟัน ในการลงโทษ (ได้แนวคิดมาจากพวกสุเมเรียน)
       
พระเจ้าฮัมมูราบี


 4.ฮิตไตท์ (Hittite)
       - เป็นชนกลุ่มแรกที่ค้นพบแร่เหล็ก 
       - รู้จักใช้เหล็กมาทำอาวุธ และรู้จักใช้รถเทียมม้าทำศึก
       - มีความสามารถด้านการรบ
       -  กษัตริย์ฮัตตูซิลิที่ 3แห่งฮิตไทต์ และฟาโรห์รามเสสที่ 2แห่งอียิปต์ได้ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกัน และหากบุคคลที่ 3มาโจมตี ต้องช่วยเหลือกัน


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รถเทียมม้า
รถเทียมม้า


 5.อัสสิเรียน (Assyrian)
       - เข้าครอบครองดินแดนทั้งหมดของเมโสโปเตเมีย มีศูนย์กลางที่ เมืองนิเนเวห์ จักรวรรดิอัสสิเรียน
       - กษัตริย์ที่ปรีชาสามารถ คือ พระเจ้าอัสซูร์บานิปาล (มีความเจริญสูงสุดในสมัยพระองค์)
       - กองทัพมีประสิทธิภาพ เก่งกล้าในการรบ ใช้เหล็กทำอาวุธ
       - ห้องสมุดแห่งแรกของโลกในกรุงนิเนเวห์
       - ภาพปฏิมากรรมนูนต่ำ (ธาติศิลปะ)
       - มีการปกครองอย่างเผด็จการเด็ดขาด

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
ห้องสมุดนิเนเวห์



 6.คาลเดีย (Chaldean)
       - เข้ายึดครองกรุงนิเนเวห์ และสถาปนากรุงบาบิโลนขึ้นเป็นเมืองหลวงอีกครั้ง(อาณาจักรบาบิโลเนีย)
       - สมัยพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ สามารถตีกรุงเยรูซาเลม และกวาดต้อนชาวยิวมาได้จำนวนมาก
       - สร้างสวนลอยแห่งบาบิโลน เพื่อมเหสี
       - มีความรู้เรื่องดาราศาสตร์พยากรณ์โชคชะตามนุษย์และสุริยุปราคาได้
       - ทำแผนที่ดวงดาว
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ สวนลอยบาบิโลน
สวนลอยบาบิโลน
       

 7.เปอร์เซีย (Persian)
       - กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ๋ คือ พระเจ้าไซรัสมหาราช(ยึดครองอียิปต์ได้) พระเจ้าดาริอุสมหาราช(ขยายอาณาจักร)
       - ในสมัยพระเจ้าดาริอุสเป็นสมัยที่เปอร์เซียมีความเจริญสูงสุด
       - มีการจัดระเบียบปกครองจักรวรรดิ โดยแบ่งออกเป็นมณฑล
       - มีความเจริญด้านคมนาคมและระบบไปรษณีย์ 
       - ความเจริญด้านศิลปวิทยาการ
             ↳ ส่งเสริมการสำรวจดินแดน และเส้นทางการค้าใหม่ๆ
             ↳ รับระบบปฏิทินสุริยคติของอียิป์มาใช้ 
             ↳ สถาปัตรกรรมที่เด่น คือ พระราชวังของจักรวรรดิดาริอุสที่เมืองเพอร์เซโพลิส
       -ศาสนาโซโรอัสเตอร์ คัมภีร์ Zend Avesta มีความเชื่อในจริยธรรม วันพิพากษาโลก

พระเจ้าไซรัสมหาราช



 8.ฟินิเชียน (Finisian)
       - ชาวฟินิเชียน มีชื่อเดิมว่า "แคนาไนท์"
       - ได้รับสมญานามว่า "ราชินีทะเลกลาง" เนื่องจากเดินทางค้าขายไปทั่วทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
       - นักเดินเรือมีความสามารถและเชี่ยวชาญด้านการเดินเรือ 
       - ดัดแปลงอักษรคูนิฟอร์มและเฮียโรกลิฟฟิก เรียกว่า "อัลฟาเบต" เพื่อใช้ในการค้าขาย ทำให้สื่อสารสะดวกและเข้าใจมากขึ้น
       - เมืองท่า คือเมืองคาร์เทจ
       - สินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ ผ้าขนสัตว์ย้อมสีม่วง ซึ่งได้มาจากหอยชนิดหนึ่ง(Royal purple)



การเดินเรือ

 9.อราเมียน (Arameans)
       - เป็นพวกที่อาศัยอยู่ตะวันออกภูเขาเลบานอล (ระหว่างศตวรรษที่ 12 ก่อนค.ศ.
       - ได้สมญานามว่า " ฟินิเชียนของเอเชียตอนใน" เนื่องจากเป็นพ่อค้าทางบกที่ยิ่งใหญ๋ในเขตตะวันออกใกล้
       - มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองดามัสกัส (ศูนย์ควบคุมการค้าทางบกระหว่างฟินิเชียน)


 10.ฮิบรู (Hebrew)
       - อาศัยอยู่ตอนล่างของลุ่มแม่น้ำยูเฟรติส ➞เดินทางเร่ร่อนหาที่ตั้ง➞ดินแดนคานาน(ปาเลสไตน์)
       - เรียกอีกชื่อว่า "ยิว" มีเมืองหลวงคือกรุงเยรูซาเลม
       - กษัตริย์ที่ใหญ่ที่สุดคือกษัตริย์โซโลมอน
       - กษัตริย์ที่สามารถ คือ พระเจ้าเดวิด ซึ่งครองดินแดนปาเลสไตน์(พระองค์ได้ขยายอาณาเขตและรบชนะพวกฟินิเชียนหรือแคนาไนท์)
       - นับถือศาสนายูดาย นับถือพระเจ้าองค์เดียวคือ พระยะเวห์หรือยะโฮวาห์(ผู้นำศาสนาของชาวฮิบรู)
       - วรรณคดีที่สำคัญ คือพระคัมภีร์เดิม ซึ่งมีอิทธิพลต่อคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์(พระคัมภีร์ใหม่)
   
กษัตริย์โซโลมอน
       


คลิปวิดีโอความรู้เกี่ยวกับอารยธรรมเมโสโปเตเมีย














บรรณานุกรม

                 แหล่งอ้างอิง : https://sites.google.com/site/phensirikm/neuxha-bth-reiyn/xandab-thi-3

                                       http://social-ave.blogspot.com/2010/03/blog-post_07.html

                                        หนังสือรายวิชาประวัติศาสตร์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความรู้เพิ่มเติม